ปัจจุบัน ภาวะสังคมทำให้คนเราต้องกดดัน เคร่งเครียดในการทำงาน จนลืมดูแลสุขภาพร่างกาย ทำให้คนวัยทำงานมีสุขภาพที่แย่ลง พบแพทย์บ่อยขึ้น ด้วยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รอบตัว ทั้งมลภาวะ ความเครียด การรับประทานอาหารส่งผลต่อสุขภาพภายในของแต่ละบุคคล ฉะนั้นกลุ่มวัยทำงาน หนุ่ม สาว วัย 30++ กลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคที่กำลังเข้ามาทำลายสุขภาพที่คุณอาจคาดไม่ถึง มาดูกันค่ะว่าโรคร้ายต่างๆ นั้นมีโรคอะไรบ้าง
1. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
อาการ : ปวดท้องน้อย ปัสสาวะแสบขัดมีเลือดปนออกมา ลองเช็คดูค่ะว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
ปัจจัยเสี่ยง มีมากมาย ลองสังเกตว่าคุณมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่
1. ดื่มน้ำน้อย
2. กลั้นปัสสาวะ
3. ปัสสาวะและทำความสะอาดหลังปัสสาวะไม่สะอาด
4. เป็นคนชอบนั่งอยู่กับที่
5. ท้องผูกหรือท้องเสีย
6. ผู้หญิงในวัยทอง
7. โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
8. โรคอัมพาต
9. โรคเบาหวาน
10. รับประทานยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
11. ได้รับรังสีบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
12. รูปัสสาวะตีบ
13. การตั้งครรภ์
14. การคุมกำเนิดโดยการสวมห่วงอนามัย ใช้หมวกหรือใช้แผ่นอุดกั้นปากมดลูก
15. โรคต่อมลูกหมากโต
16. อ้วนมากเกินไปหรือผอมมากเกินไป
17. พันธุกรรม
การรักษาเบื้องต้น : การใช้ธรรมชาติบำบัด โดยพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มากอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร ไม่กลั้นปัสสาวะ หรือใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น และรีบไปพบแพทย์
การป้องกัน :
1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ดื่มน้ำให้มาก นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ
2. ดูแลน้ำหนักไม่ให้อ้วนหรือผอม
3. ละเว้นการนอนดึก ดื่มสุรา สูบบุหรี่
4. ดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล
5. ระวังการทำความสะอาดอวัยวะเพศ
6. ระวังการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
7. อย่ากลั้นปัสสาวะ ไม่ควรนั่งเก้าอี้นานเกิน 2 ชั่วโมง
8. ไม่ควรกลั้นอุจจาระ
9. หากป่วยเป็นโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ พยายามดูแลตัวเองตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดโรคกำเริบซึ่งจะทำให้ติดเชื้อง่าย
2. โรคปวดหัวไมเกรน
อาการ : เกิดจากความเครียด ปวดหัวมาก เหมือนมีอะไรเต้นตุบๆ อยู่ในหัว
ปัจจัยเสี่ยง ความเครียดที่เกิดทางกายและใจ
1. แสงจ้าเข้าตา เสียงดัง กลิ่นหอมจนฉุนของน้ำหอมหรือกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง
2. เป็นภูมิแพ้
3. นอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท
4. หิวแต่ทานอาหารผิดเวลา
5. สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จากเพื่อนร่วมงาน
6. ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากยาคุมกําเนิด สมุนไพร หรือฮอร์โมนทดแทนการหมดประจําเดือน
7. อาหารบางชนิด(เฉพาะบางคน) เช่น กาแฟ เหล้า ช็อกโกแลต นม เนย ไอศกรีม น้ําตาลเทียม ผงชูรส หัวหอม ถั่ว ไส้กรอก ของหมักดอง ปลารมควัน ฯลฯ
8. ปัจจัยที่พบมากที่สุดในการกระตุ้นให้เกิดโรค ได้แก่ ความเครียด พักผ่อนน้อย ความหิว และการไม่ได้ดื่มกาแฟ
การป้องกัน : ลดความเครียด ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่นอนดึก ไม่ทำงานเกินแรง ไม่อดอาหาร ไม่รับประทานอาหารที่ทำให้เกิดโรคไมเกรน ไม่รับประทานยาคุมกำเนิด ไม่รับประทานฮอร์โมนทดแทนการหมดประจำเดือน ฯลฯ
การรักษา : วิธีธรรมชาติบำบัด เช่น การนวด การประคบเย็น ร้อน ดื่มชา กาแฟ น้ำขิง ทำสมาธิ ฝังเข็ม นอนหลับพักผ่อน เป็นต้น
อาการปวดหัวที่เป็นอันตราย และควรไปพบแพทย์ คือ
1. ปวดหัวกระทันหันอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
2. ปวดหัวร่วมกับอาการชัก
3. ปวดหัวพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสติ เช่น มึน เบลอ ซึม โคม่า
4. ปวดหัวหลังได้รับอุบัติเหตุทางศรีษะ
5. ปวดหัวที่มีอาหารปวดหู ปวดตาอย่างรุนแรงร่วมด้วย
6. ปวดหัวเรื้อรังติดต่อเป็นระยะเวลานานๆ
7. ปวดหัวชนิดเป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก
8. ปวดหัวและมีไข้สูง
3. โรคกรดไหลย้อน
อาการ : มีอาการจุกเสียด เสียวแปลบที่หน้าอกด้านซ้ายจนจุกไปถึงด้านหลัง
ปัจจัยเสี่ยง :
1. พันธุกรรม เช่น เด็กดาวน์
2. เป็นโรคไส้เลื่อนกะบังลม
3. เป็นโรคหอบหืด
4. เป็นโรคภูมิแพ้
5. อ้วน
6. ตั้งครรภ์
7. อายุ (40 ปีขึ้นไป) อาจเกิดจากความเสื่อมของหูรูดหลอดอาหารและความสามารถในการย่อยอาหาร
8. เป็นนิ่วในถุงน้ำดี
8. มีกรดมากในกระเพาะอาหาร
9. มีแคลเซียมมากในเลือด
10. รับประทานอาหารมากเกินไป
11. โรคภูมิแพ้บางอย่าง เช่น โรคหนังแข็งหรือทําให้หลอดอาหารผิดปกติ
12. ได้รับสารสเตียรอยด์
13. การสูบบุหรี่
14. ความเครียด
15. อาหารบางอย่างที่เพิ่มกรด อาหารที่ย่อยยาก เป็นต้น
16. ยาบางชนิดที่ทําให้ กระเพาะอาหารหลั่งกรดมาก อาหารและกรดคั่งค้างในกระเพาะอาหาร หรือหูรูดหลอดอาหารคลายตัว เช่น แอสไพริน ยาขยายหลอดลม ยาแก้หดเกร็ง ยาลดการเต้นของหัวใจ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยากล่อม ประสาท ยากันแท้ง วิตามินซี เป็นต้น
การรักษา : ควรมีความระมัดระวังเกี่ยวกับอาหารที่อาจทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
1. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอร์
2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อน
3. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
4. การนอนควรสวมเสื้อผ้าที่ทำให้นอนหลับสบาย และควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อลดอาการเกิดกรดไหลย้อน และนอนหนุนหมอนให้สุงพอประมาณ
5. การแต่งกายไม่ควรรัดรูปมากเกินไป การนั่ง การยืนให้ถูกสุขลักษณะ และพยายามลดความเครียด
4. โรคปวดกระดูกกล้ามเนื้อและข้อ
อาการ : ปวดไหล่จนยกของหรือยกแขนไม่ได้ ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเกี่ยวพันกับกระดูกต้นคอ
สาเหตุการเกิดโรค ➣ เอ็นอักเสบ, กล้ามและเอ็นเสื่อมสภาพ, ถุงหุ้มข้ออักเสบ, ข้ออักเสบ
อาการที่ควรไปพบแพทย์ ได้แก่ ปวดไหล่จนยกแขนไม่ขึ้น หรือใช้แขนไม่ได้ บาดเจ็บจากการกระทบกระทั่ง ทำให้ข้อไหล่ผิดรูปร่าง ปวดจนนอนไม่หลับ มีอาการบวมรอบๆ ข้อไหล่ มีไข้ ข้อไหล่บวมแดง มีก้อนขึ้นที่ข้อไหล่ หรืออาการผิดปกติอื่นๆ
การรักษา
1. รักษาเบื้องต้น เช่น พักผ่อน ประคบร้อนและประคบเย็น และการใช้ยาต้านการอักเสบ
2. การรักษาโดยแพทย์ ประกอบด้วย การฉีดสารสเตียร์รอยด์ หรือแพทย์ทางเลือก อย่างการ ฝังเข้ม นวดกดจุด การจัดกระดูก การอบสมุนไพร ไปจนถึงการผ่าตัด
5. โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
อาการ : ลักษณะจะมีอาการปวดหลังและร้าวมาที่ขาทั้งสองข้าง ปวดจนต้องตื่นขึ้นมากลางดึก หรือปวดจนเดินไม่ได้
การรักษาวิธีธรรมชาติบำบัดหรือการรักษาเบื้องต้น ได้แก่
1. พักผ่อน
2. ประคบเย็น ในกรณีที่รู้สึกปวดและให้ประคบบริเวณกระดูกสันหลังที่กดปวด
3. ประคบร้อนในกรณีที่กล้ามเนื้อหลังแขน ขาเก็งเพื่อช่วยลดอาการเกร็งได้
4. ออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการปวดได้
5. นอนบนพื้นที่นอนที่แข็ง
6. นวดอย่างถูกวิธี
7. จัดกระดูกสันหลัง
8. เรียนรู้อิริยาบถต่างๆ
9. ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า
10. ธาราบำบัด
11. กายภาพบำบัด
12. พบแพทย์เพื่อฝังเข็ม
13. สวมปลอกคอ
รักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน
1. เลือกใช้ยาในการรักษาภาวะอาการปวด
2. การผ่าตัด
➣ ที่กล่าวมาคือ 5 โรคที่คนวัย 30++ ควรใส่ใจ เพราะสุขภาพดีๆ ไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายของคุณเองให้แข็งแรงอยู่เสมอนะคะ
อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทอง ใส่ใจสร้างสรรค์ข้าวคุณภาพ