ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีลักษณะเปลือกสีแดง ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับลำไยและเงาะ มีต้นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ มีสายพันธุ์ประมาณ 30-40 พันธุ์ กวีเอกชื่อ ป๋ายจีอี้ สมัยราชวงศ์ถังเขียนไว้ว่า “ถ้าลิ้นจี่ถูกเด็ดจากต้น 1 วัน เปลือกจะเปลี่ยนสี 2 วัน กลิ่นหอมก็จะเปลี่ยน 3 วัน รสชาติก็เปลี่ยนไป และหลังจาก 4-5 วัน ทั้งสี กลิ่น และรสก็จะเปลี่ยนไปหมดสิ้น” และยังเป็นผลไม้โปรดของหยางกุ้ยเฟย พระสนมของจักรพรรดิถังเสวียนจงอีกด้วย และมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทยแถบภาคเหนือ โดยสายพันธุ์ของลิ้นจี่ที่นิยมก็ได้แก่ สายพันธุ์จักรพรรดิ กิมเจ็ง และฮงฮวย โดยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นในรูปของผลไม้สดหรือแปรรูปก็ตาม

จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่า เนื้อลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ น้ำมันจากเมล็ดลิ้นจี่มีสารประกอบ เป็นกรดไขมันที่สำคัญ เช่น ปาล์มมิติก 12% โอลิอิก 27% และไลโนเลอิก 11% เปลือก จะมีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญคือ โพรไซยาไนดินบี 4 ไพรไซยา-ไนดินบี 2 และอีพิคาเทชิน ส่วนที่สำคัญคือ ไซยาไนดิน-3-รูตินโนไซด์ ไซยาไนดิน-3กลูโคไซด์ เควอเซทิน-3-รูติโนไซด์ และเควอเซทิน-3-กลูโคไซด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง

ประโยชน์ของลิ้นจี่
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านมจากสรรพคุณดังกล่าว ชาวแดนมังกรจึงนิยมกินผลไม้ดังกล่าว เพื่อช่วยบำรุงแก้อาการไอเรื้อรัง คัดจมูก อาการท้องเดิน ลดกรดในกระเพาะอาหาร และยังนำมาทำเป็นชาชงดื่มเพื่อบรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคออาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัสด้วยนะคะ

ช่วงนี้ผลลิ้นจี่ทยอยสุก แต่สียังไม่เข้มจัดการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่มักเริ่มในเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน เมื่อลิ้นจี่ออกวางตลาดลิ้นจี่จะเป็นของฝากที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน และช่วยย่อยอาหาร ช่วยในการบำรุงอวัยวะภายในต่างๆ ภายในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้รับเป็นอย่างมากค่ะ

 

อย่าลืมกดไลค์แฟนเพจกันด้วยนะคะ www.facebook.com/ข้าวหงษ์ทอง ใส่ใจสร้างสรรค์ข้าวคุณภาพ